เมื่อคนแม่เมาะกลายเป็นคน กฟผ. และ คนกฟผ.คือคนแม่เมาะ

“หากเอ่ยถึงนามสกุล ป๊อกคำอู๋ รับรองว่าไม่มีคนแม่เมาะคน ไหนไม่รู้จัก” นพดล ป๊อกคำอู๋ กล่าวถึงต้นตระกูล เมื่อเราขอให้เล่าความเป็น มาเกี่ยวกับคนแม่เมาะเมื่อแรกเริ่มเดิมที นามสกุล “ป๊อกคำอู๋” สืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของนพดลซึ่งเป็นชาวไทลื้อ และชาวเงี้ยวกลุ่มแรกที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากใน อำเภอแม่เมาะเมื่อกว่าร้อยปีก่อน ตั้งเป็นต้นตระกูลเมาะหลวง นพดล จึงเรียกได้ว่าเป็นเจ้าถิ่นตัวจริง ปัจจุบันเป็นวิศวกรอยู่ เหมืองแม่เมาะ งานหลักๆคือการซ่อมเครื่องจักรตีนตะขาบ สำหรับใช้ในงานบ่อเหมือง ทำงานกับ กฟผ. มากว่า 30 ปี คงจะน่าสนใจไม่น้อยถ้าผู้อ่านจะได้รับรู้อีกหนึ่งมุมมอง จากคน ที่เป็นทั้งคนแม่เมาะ และเป็นคน กฟผ. ในคราวเดียว

ความทรงจำวัยเด็กของคุณเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและเหมือง แม่เมาะ สมัยที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
เครื่องที่ 1-3 เริ่มก่อสร้าง จำได้ว่ามี คนต่างถิ่นเข้ามา เช่าบ้านบ้าง สร้างบ้านบ้าง ตั้งรกรากอยู่ใน หมู่บ้าน สักพักก็อยู่อาศัยกลมกลืนกันไปกับชุมชน แม่เปิดร้าน ขายของชำ ก็ขายของดีมาก ส่วนพ่อเข้าไปทำงานเป็นพนักงาน ขับรถเครื่องจักรกลในบ่อเหมืองสมัยเด็กเคยตามพ่อไปในบ่อ เหมือง ได้นั่งรถบรรทุก รถขุด ทำให้ซึมซับบรรยากาศการ ทำงานในบ่อเหมือง ซึ่งเป็นความทรงจำที่ดี

เริ่มต้นการทำงานที่ กฟผ.แม่เมาะ ได้ยังไง
ผมจบ ปวส. ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาพายัพ เชียงใหม่ พอปี 2532 ก็เริ่มงานครั้งแรกเป็นลูกจ้างบริษัทนวรัตน์ฯในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8-9 ต่อมาก็ได้ บรรจุ และได้รับทุนจาก กฟผ. เรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ทำงานมาจนถึงวันนี้ก็ 30 ปีแล้ว

คุณมองว่าตัวเองเป็นคนแม่เมาะ หรือ คน กฟผ. มากกว่ากัน
ตอบยาก ผมเป็นคนแม่เมาะโดยกำเนิดและรักบ้านเกิด เพราะ คิดว่าคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงมาจากต้นตระกูล เดียวกัน ส่วน กฟผ. ก็ผูกพัน เพราะ กฟผ. ให้โอกาสครอบครัว ผมได้สร้างตัวมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ผมจึงเป็นทั้งคนแม่เมาะและคน กฟผ. ทำอย่างเต็มที่ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับบทบาทว่าเป็นเรื่อง ที่ต้องทำเพื่อชุมชนหรือเพื่อองค์กร

บทบาทในการทำงานเพื่อชุมชน เช่นอะไรบ้าง
ถ้าในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็จะได้รับภารกิจดูแลหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ซึ่งมีแผนที่เราจะต้องเข้าไปร่วมกิจกรรมทั้งปี ปัจจุบัน พ วกผมยังมี “กลุ่มรักษ์เมาะหลวง” คอยช่วยเหลืองานเล็กๆ น้อยๆ ในหมู่บ้านอยู่เสมอ

ชุมชนคนแม่เมาะสมัยก่อนเปรียบเทียบกับทุกวันนี้ เปลี่ยนไปไหม
เปลี่ยนไปมาก สมัยก่อนผู้คนเอาวัดและโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง นับถือพระ นับถือครู มีความสัมพันธ์ที่ดี สมัยนี้ชุมชนมีคนเยอะ ต่างคนต่างอยู่ มีความเป็นเมืองมากขึ้น ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่าง กฟผ. กับชุมชนเปลี่ยนไปด้วย ด้วยความที่บริบททาง สังคมของชุมชนเองก็เปลี่ยน สมัยก่อนช่วงสงกรานต์ ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและชาวบ้าน จะมาดำหัวผู้บริหาร กฟผ. ตามบ้านพักแห่กลองยาวกันสนุกสนาน มันแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แม้ความสัมพันธ์ในปัจจุบันอาจไม่ลึกซึ้งขนาดนั้น แต่ กฟผ. และชุมชนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ เพราะมีประชาชน จำนวนมากที่เห็นด้วยกับภารกิจของเรา ส่วนหนึ่งเขายอมรับว่า เศรษฐกิจแม่เมาะอยู่ได้ทุกวันนี้ มาจากการผลิตกระแสไฟฟ้า

คุณอยากให้ความสัมพันธ์ระหว่าง กฟผ. และชุมชนใน อนาคตเป็นแบบไหน
อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบพี่แบบน้อง

เราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร
กฟผ. ต้องจริงใจ โปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย รวดเร็วตาม กรอบเวลา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ฝั่งชุมชนเองก็ต้องยอมรับและเข้าใจ บทบาทหน้าที่ของ กฟผ. ที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อพัฒนาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ชุมชนควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม สาธารณประโยชน์ต่างๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นไปด้วยกัน การทำงาน ร่วมกันแบบนี้จะช่วยสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันและเอื้ออาทร ซึ่งจะกลายเป็นสายสัมพันธ์ ที่สำคัญที่ทำให้ทุกคน “อยู่ร่วม” และ “อยู่รอด” ได้

คุณคิดว่า กฟผ.แม่เมาะ ให้อะไรชุมชนได้บ้าง
ผมไม่เห็นด้วยเรื่องการให้เงิน เพราะไม่ยั่งยืน กฟผ. น่าจะช่วย เข้าไปสนับสนุนอาชีพ หรือสนับสนุนจุดเด่นที่ชุมชนมีอยู่ให้มี ศักยภาพยิ่งขึ้น เช่น บ้านเมาะหลวงมีภูเขา มีถ้ำ บ้านท่าสีมีหน้า ผาที่สวยงาม กฟผ. อาจจะเข้าไปผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว หรืออนาคตเมื่อปิดเหมือง บ่อเหมืองสามารถรับน้ำได้ปริมาตร มหึมา ทำอย่างไรให้บริเวณรอบๆ ได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำ ไม่ว่าจะทำประมง หรือเกษตร

แล้วทางชุมชนจะเกื้อกูล กฟผ.แม่เมาะ อย่างไรได้บ้าง
ชุมชนต้องเข้าใจว่า กฟผ. “ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” กิจกรรมทุกอย่างถึงจะร่วมมือกันได้ ยกตัวอย่าง เช่น การจัดทำ EHIA โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่อง ที่ 4-7 (MMRP1) ชุมชนส่วนใหญ่เข้าใจ กฟผ. อีกทั้งต้องการ ให้เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้น จึงแสดงออกถึงพลังในการ สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้า นี่คือสิ่งที่ชุมชนจะเกื้อกูล กฟผ. ได้

ท้ายนี้ ฝากข้อคิดไว้ในฐานะของ คน กฟผ. และในฐานะคน แม่เมาะ
พูดในฐานะคน กฟผ. เราต้องให้เกียรติคนแม่เมาะ เพราะคน แม่เมาะถือเป็นผู้เสียสละเพื่อให้มีการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอ ของตน คน กฟผ.แม่เมาะ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรง ชีวิต และต้องมีความจริงใจในการช่วยเหลือชุมชน ส่วนในฐานะคนแม่เมาะ อย่างแรก อยากให้ชุมชนทำความ เข้าใจในภารกิจของ กฟผ. อย่างที่สอง เราจะต้องทำให้ ชุมชนอยู่อย่างยั่งยืนให้ได้ ด้วยการใช้งบประมาณที่ได้รับการ สนับสนุนให้คุ้มค่าและทั่วถึง โดยตระหนักเสมอว่าในอนาคตงบ เหล่านี้ไม่ยั่งยืน เราต้องพึ่งพาตัวเอง

Final Quarter1 01

จัดทำโดย : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย