จุดเริ่มต้นของศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน ต.นาสัก คือการอยากช่วยเหลือพี่น้องในชุมชนได้บรรเทาอาการเจ็บปวดเมื่อยล้าหลังกรำงานเกษตรกรรม ประกอบกับ อ.แม่เมาะ มีปราชญ์ชุมชน หรือหมอเมิือง ที่ต้องการถ่ายทอดภูมิปัญญาพืื้นบ้าน จึงทำให้เกิดการผสานความรู้ของคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน ก่อร่างสร้างเครือข่ายจากสมาชิกทุกตำบลใน อ.แม่เมาะ กว่า 80 คน

DSC 1871

DSC00984

 

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนแล้ว ยังเป็นการเปิดโลก และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วย ที่นี่ยินดีต้อนรับทั้งกลุ่มคณะศึกษาดูงาน และนักท่องเที่ยวผู้สนใจด้านการใช้สมุนไพร ด้วยการปลูกพืชสมุนไพรกว่า 100 ชนิด อาทิ ไพล อบเชย หญ้าเอ็นยืด เปราะหอม เถาวัลย์เปรียง พลูคาว ฯลฯ กิจกรรมภายในศูนย์ฯ มีตั้งแต่การเรียนรู้ปลูกสมุนไพรไปจนถึงการแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ชื่อ “ไพรพฤกษา” หรือ Tree Dee และยังมีการแปรรูปถ่านไร้ควันจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การตรวจดินทางการเกษตร ล่าสุดสมาชิกในศูนย์ฯ ได้ต่อยอดทำไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟสูตรสมุนไพร ที่ผ่านการศึกษาแล้วว่าไข่เค็มสูตรขมิ้นช่วยลดปริมาณคลอเรสเตอรอลและโซเดียมในร่างกาย จึงมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่าไข่เค็มธรรมดา

DSC 1886

DSC 1921

 

ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่สำหรับผู้สนใจภูมิปัญญาด้านสมุนไพรพื้นบ้าน ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาตำรับยาน้ำมันสมุนไพรสูตรใหม่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นำทีมวิจัยโดย ผศ.กาญจนา รัตนธีรวิเชียร อาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล ม.ราชภัฏลำปาง ซึ่งเป็นบุคลากรหลักในการส่งเสริมให้เกิดศูนย์ฯ แห่งนี้ และที่สำคัญยังเป็นลูกหลานชาว ต.นาสัก อีกด้วย

DSC 1895

DSCF2103

 

สนใจศึกษาดูงาน ติดต่อที่ 086-2880183
ค่าใช้จ่ายการศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน ต.นาสัก
- ค่าบำรุงศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน 1,000 บาท ต่อกลุ่ม พร้อมเรียนรู้กิจกรรม
- กรณีพักกางเต็นท์ ราคา หลังละ 300 บาท พร้อมอาหาร 2 มื้อ ราคาต่อ 1 ท่าน

DSC 1946

จัดทำโดย : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย