ช่องค้นหา

439865898 843219137846888 5691021504342934803 n

          กฟผ.แม่เมาะ ให้ข้อมูลภารกิจ “แม่เมาะโมเดล” และ “แม่เมาะเมืองน่าอยู่” ที่ขับเคลื่อนจากผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม แก่คณะ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนจังหวัดลำปางให้เกิดการพัฒนาที่มีศักยภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปสอดคล้องกับ 13 หมุดหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และ 15 แผนงานสำคัญด้านวิทยาศาตร์ วิจัย และนวัตกรรม

440010773 843219324513536 3077206041859263260 n

          เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 นางเกษศิรินทร์ แปงเสน หัวหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ พร้อมผู้บริหารงานหมวดส่งเสริมพลังงานสะอาด หน่วยพัฒนาโครงการ โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ เป็นผู้แทน กฟผ.แม่เมาะ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำโดย น.ส.ปฏิมา จงเจริญธนาวัฒน์ ผอ.กองศึกษาและวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และ คณะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย น.ส.สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์ รักษาการ ผช.ผอ. สำนักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ ปฏิบัติงานบริหารด้านจัดทำและวิเคราะห์แผนด้าน ววน. พร้อมด้วยคณะพลังงานจังหวัดลำปาง ในโอกาสหารือและให้ข้อมูลประเด็นการพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนจังหวัดลำปางให้สอดคล้องกับ 13 หมุดหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และ 15 แผนงานสำคัญด้านวิทยาศาตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ณ ห้องมุ่งงานเลิศ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

          นางเกษศิรินทร์ แปงเสน หัวหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ ได้ให้ข้อมูลในประเด็น“แม่เมาะโมเดล” และ “แม่เมาะเมืองน่าอยู่” ที่แผนงานและโครงการต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือ และกลไกในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมใน อ.แม่เมาะ ตามการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เช่น ชุมชนนิคมเกษตร นำร่องในพื้นที่อพยพตำบลบ้านดง แหล่งผลิตผักด้วยเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมแนวตั้ง (Vertical Farm) ที่นำเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต, ส่งเสริมการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ สร้างรายได้จากการขาย เกิดผลกำไรปันผลสู่ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจฯ, Biomass Co-Firing ส่งเสริมโรงงานชีวมวลอัดเม็ดในพื้นที่ชุมชน, โครงการนำร่อง Solar Farm 50 MW, เพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยพืชพลังงาน ส่งเสริมและปรับเปลี่ยนชุมชนที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นไผ่เศรษฐกิจ และไม้โตเร็ว โดยนำร่องที่บ้านห้วยคิง ตำบลแม่เมาะ

439960909 843219284513540 4852732027718607460 n

439873782 843219274513541 3888883553237136815 n

          หลังเสร็จสิ้นการบรรยาย คณะได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชมภารกิจ กฟผ.แม่เมาะ ในพื้นที่อพยพตำบลบ้านดง ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ทิศทางการพัฒนา และความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จาก ววน. เพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้เป็นแนวทางบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วย ววน. ในระดับพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาที่มีศักยภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งจังหวัดลำปางมีศักยภาพเป็น 1 ใน 5 พื้นที่ (ลำปาง บึงกาฬ สระบุรี ฉะเชิงเทรา และสตูล) นำร่องต้นแบบของการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วยแผนงานสำคัญด้านวิทยาศาตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในปีงบประมาณ 2567

จัดทำโดย : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย